⧜⧜ ประวัติความเป็นมา ⧜⧜


        สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยหน่วยงานที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ส่วนห้องสมุด และ ส่วนคอมพิวเตอร์ ซึ่งงานด้านห้องสมุดได้จัดตั้งขึ้นมาพร้อมกับวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2497 โดยในระยะแรกยังไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ด้านบรรณารักษ์เข้ามาบริหารจัดการ จึงใช้ชื่อว่า ห้องสมุด

ส่วนห้องสมุด

• 1  มีนาคม  พ.ศ. 2497  เริ่มก่อตั้ง จากหน่วยงานที่เรียกว่า ห้องสมุด
• พ.ศ. 2510     เริ่มก่อตั้งเป็นห้องสมุด ตั้งอยู่ในอาคารเรียนชั่วคราว
• พ.ศ. 2513  ย้ายไปตั้งอยู่ที่อาคาร  1 ชั้น  2
• พ.ศ. 2514 ย้ายไปตั้งอยู่ที่อาคาร  2 ชั้น  2
• พ.ศ. 2516 ยกฐานะขึ้นเป็นแผนกห้องสมุด มีสถานที่เป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น 1 หลัง
• พ.ศ. 2528 ยกฐานะขึ้นเป็นฝ่ายหอสมุด
• พ.ศ. 2535 -  2538 เริ่มนำโปรแกรมสำเร็จรูป CDS-ISIS เข้ามาใช้ในการดำเนินงานและการให้บริการ
• พ.ศ. 2538 ยกฐานะขึ้นเป็น สำนักวิทยบริการ
• พ.ศ. 2540  ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  CDS-ISIS  อย่างเต็มรูปแบบ
• พ.ศ. 2541
 
มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การใช้บาร์โค้ดในการยืม - คืน เอกสาร หรือหนังสือต่างๆ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่คณาจารย์และนักศึกษาสามารถใช้ เพื่อการเรียนการสอนมาให้บริการที่
• พ.ศ. 2542


มีอาคารวิทยบริการเป็นเอกเทศ ขนาด 6 ชั้น เนื้อที่  4,973  ตารางเมตร  โดยมีการนำระบบห้องสมุดอัติโนมัติ ระบบ VTLS มาใช้ในการดำเนินงานและการให้บริการ โดยเริ่มนำมาทดลองใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2542 และสามารถดำเนินงานและให้บริการโดยระบบ VTLS เต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2542
• พ.ศ. 2543 





พัฒนาและปรับปรุงอาคารสำนักวิทยบริการ ให้สามารถรองรับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายภายใน (LAN) ปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในอาคาร เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีการให้บริการต่างๆ ดังนี้
- ให้บริการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- ใช้ระบบ  CDS-ISIS  มาจัดทำฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร
- จัดตั้งห้องข้อมูลท้องถิ่น
- พัฒนาปรับปรุงฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษา


ส่วนคอมพิวเตอร์

• 22 กันยายน พ.ศ. 2540






ได้จัดตั้งส่วนงานด้านคอมพิวเตอร์ขึ้น ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อหน่วยงานว่า ศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยมีภารกิจตามประกาศของสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เรื่องการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ 4 ประการคือ
1. ให้บริการอาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของสถาบันได้ศึกษาค้นคว้า และฝึกทักษะด้านคอมพิวเตอร์
2. ให้การสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษาของสถาบัน
3. พัฒนาหลักสูตรการอบรมและจัดอบรมคอมพิวเตอร์แก่อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของสถาบัน และบุคลากรในท้องถิ่นตามความต้องการของท้องถิ่น
4. ดำเนินงานอื่นๆ ตามที่สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงมอบหมายให้แก่สำนักคอมพิวเตอร์
• พ.ศ. 2546 สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงมีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานภายในสถาบัน โดยยกฐานะเป็น สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ


◼ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

• พ.ศ. 2547 


ได้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ เปลี่ยนชื่อสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และมีประกาศกฎกระทรวงศึกษาธิการได้ปรับโครงสร้างของหน่วยงานจึงได้รวม 2 หน่วยงานคือ สำนักวิทยบริการ และ สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าด้วยกัน ภายใต้ชื่อ “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ”
• พ.ศ. 2549


งานเทคโนโนโลยีสารสนเทศ ได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ชั้น 1 อาคารศูนย์ภาษาและศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยเปิดให้ใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนการสอน 8 ห้อง ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ (Training Room) 1 ห้อง และห้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Self-Access Learning) 1 ห้อง
• พ.ศ. 2552 


ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ปรับเปลี่ยนความเร็ว จาก 10 Mbps มาเปลี่ยน 1 Gbps และเพิ่มห้องการเรียนการสอนทางไกล เป็น 2 ห้อง ปรับเปลี่ยนเวอร์ชั่นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS (Virginia Tech Library System) เป็น VTLS Virtua ILS มาจัดการแทนระบบเดิม เพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษาสามารถใช้เพื่อการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ และมีการนำระบบสารสนเทศ MIS มาใช้งาน 
• พ.ศ. 2554 มีการใช้งานระบบพิสูจน์ตัวตนก่อนเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต
• พ.ศ. 2558





มีการปรับปรุงระบบโครงสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในมหาวิทยาลัย(Back Bone) ด้วยสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ทำการติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Core Switch) จำนวน 1 ตัว อุปกรณ์กระจายสัญญาณ(Distribution Switch) จำนวน 3 ตัว อุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Switch) 21 และตัวอุปกรณ์กระจายสัญญาณไร้สาย (Access Point)  จำนวน 90 ตัว และเชื่อมต่อไปยังอาคารต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมและรองรับการจัดการเรียนสอนสำหรับนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมในการให้บริการเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รองรับ IPv6 ครบ 3 ระบบ ได้แก่  ระบบ DNS Mail แ ละ Website IP V6 และมีระบบสอบมาตรฐานทักษะคอมพิวเตอร์  
• พ.ศ. 2559 มีการปรับปรุงระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  (VTLS) จากเวอร์ชั่น 2011 เป็น เวอร์ชั่น 2012
• พ.ศ. 2561





- มีการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Matrix มาใช้ในการปฏิบัติงานและการให้บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ แทนการใช้งานระบบ VTLS Virtua ILS เดิม ซึ่งสามารถให้บริการผ่านเว็บเบราเซอร์และแอพพลิเคชันสำหรับการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนโดยสามารถรองรับได้ทั้ง ระบบปฏิบัติการ IOS และ Android
- มีการปรับปรุงระบบควบคุมอุณหภูมิห้องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ มีให้ความเหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐาน Data Center
- มีการขยายพื้นที่ให้บริการเครือข่ายไร้สายให้ครอบคลุมพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน โดยการติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณไร้สาย (Access Point) เพิ่มขึ้นจำนวน 43 ตัว
• พ.ศ. 2562 มีการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 160 เครื่อง เพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอน
• พ.ศ. 2563

มีการปรับปรุงห้องประชุมสำหรับการอบรมและการประชุมออนไลน์แบบดิจิทัล เพื่อรองรับการเรียนการสอนและการประชุมในอนาคต จำนวน 1 ห้อง และจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 40 เครื่อง เพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอน 
• พ.ศ. 2564






- มีการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมเพื่อทัศนียภาพอันสวยงาม ด้วยการติดตั้งโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง Fiber Optic Cable (FOC) ฝังในระดับใต้ดิน เพื่อใช้ทดแทนสายสื่อสารเดิม
- มีการติดตั้งใบรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ (SSL Certificates) บนเครื่องแม่ข่าย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารหรือส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- มีการนำระบบฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books) มาใช้ในการให้บริการกับคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนังสือหรือตำราภาษาอังกฤษ และการเพิ่มฐานข้อมูลการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการออนไลน์ (E-Journal) จำนวน 3 ฐานข้อมูล คือ 1) Business 2) Science 3) Environmental studies and policy ซึ่งสามารถสืบค้นได้ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
• พ.ศ. 2565
 
- โคงสร้างการแบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในส่วนของสานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยงาน 4 งาน ได้แก่ งานบริหารทั่วไป งานพัฒนาบริการทรัพยากรสารสนเทศ งานเทคโนโลยี สารสนเทศ และศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้อัจฉริยะ
- มีการนำระบบฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ Gale eBooks และ Book Dose Path บริการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ Gale Academic Onefile Selec E-Journal และบริการ Netflix มําให้บริการกับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย
• พ.ศ. 2566 - กำกับดูแลงานสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร ในส่วนกองกลาง สำนักงานอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2566
- ปรับภูมิทัศน์ห้องประชุมร่มฉัตร ชั้น 6 อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ปรับปรุงห้องบริการดิจิทัลมีเดีย ชั้น 6 อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความทันสมัย มีการกระจายอย่างทั่วถึง ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัย มีเสถียรภาพ มีความมั่นคงปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล เพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งนำระบบ iMaster NCE-Campus สำหรับบริหารจัดการระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
- ปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่ายหลักของมหาวิทยาลัย เป็นความเร็ว 100 Gbps และเครือข่ายระดับคณะและหน่วยงานย่อย เป็นความเร็ว 10 Gbps
- พัฒนาการให้บริการระบบเครือข่ายไร้สายที่ได้มาตรฐานสามารถรองรับการเรียนการสอน การทำงานที่ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย รองรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่มีความหลากหลายได้
- พัฒนาการให้บริการระบบเครือข่ายไร้สายให้ครอบคลุมบริเวณหอพักนักศึกษาและบ้านพักอาจารย์ของมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการเรียนการสอนการทำงาน สนับสนุนนโยบํายการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital University)
- สร้างมาตรฐานการพัฒนาการให้บริการ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น ระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ ระบบจองห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ระบบประเมินความพึงพอใจออนไลน์ เป็นต้น
- เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนสำหรับห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์โดยปรับปรุงระบบไฟฟ้า ใช้การควบคุมการทำงานด้วยระบบตัดไฟอัตโนมัติ Keytag ปรับปรุงระบบภาพ และปรับปรุงจอรับภาพเป็นขนาด 180 นิ้ว แบบ wide screen การเชื่อมต่อภาพและเสียงแบบ HDMI เพื่อรองรับการแสดงผลและเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้งาน ปรับปรุงระบบเครือข่าย LAN ภายในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เป็น ความเร็ว 1 Gbps เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน
• พ.ศ. 2567 - เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน โดยจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สําหรับการประมวลผลแบบที่ 2 จํานวน 200 เครื่อง และจัดซื้อครุภัณฑ์การศึกษา 4รายการเพื่อให้เพียงพอต่อการเรียนการสอนและรองรับอุปกรณ์ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น
-สร้างห้องสตูดิโอพร้อมอุปกรณ์ผลิตสื่อดิจิทัลหรือบทเรียนออนไลน์สําหรับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ MCRU MOOC เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ยุคดิจิทัล นําไปสู่การยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตต่อไป
- จัดซื้อชุดข้อสอบทักษะดิจิทัลตามมาตรฐานสากล ICDL Application Essentials จากบริษัท ICDL Thailand Company Limited จํานวน 250 ชุด และจัดซื้อชุดข้อสอบ IC3 Digital Literacy Certification จากบริษัท เออาร์ไอที จํากัด จํานวน 200 ชุด

ปรับปรุงข้อมูล วันที่ 5 มกราคม 2567