⧜⧜ คำถามที่พบบ่อย Q&A ⧜⧜

 

งานวิทยบริการ
◼  การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ

การเข้าใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์

วิธีการเข้าใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ สามารถเข้าใช้งานได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
1. เข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง http://www.mcru.ac.th
2. เข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ http://arit.mcru.ac.th/index.php/search/online-database หรือ http://arit.mcru.ac.th เลือกที่เมนู "สืบค้นสารสนเทศ" แล้วเลือก "ฐานข้อมูลออนไลน์"

ซึ่งเว็บไซต์ของสำนักฯ จะรวมรวบฐานข้อมูลออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยมีให้บริการ โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับประเภทของฐานข้อมูลและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีคู่มือการใช้งานของแต่ละฐานข้อมูลให้ดาวน์โหลดได้ในรูปแบบ PDF ด้วย

การเข้าใช้งานระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC)

วิธีการเข้าใช้งานระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC) สามารถเข้าใช้งานได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
1. เข้าใช้งานโดยตรงที่เว็บไซต์ระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC) http://matrix.mcru.ac.th
2. เข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง http://www.mcru.ac.th
3. เข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ http://arit.mcru.ac.th/ โดยเลือกที่เมนู "สืบค้นสารสนเทศ" แล้วเลือก "สืบค้นข้อมูลห้องสมุด"

หนังสือหาย มีขั้นตอน/การติดต่ออย่างไร

• ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกับเจ้าที่บริการได้ที่บริเวณเคาน์เตอร์บริการชั้น 1 อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
◼  การใช้งานอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย

การเข้าใช้งานอีเมลล์มหาวิทยาลัย

บุคลากร/นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สามารถเข้าใช้งานระบบได้โดยมีรายละเอียดดังนี้ ซึ่งรหัสผ่าน (Password) เป็นเพียงรหัสตั้งต้นเท่านั้น หลังจากลงชื่อเข้าใช้งานระบบในครั้งแรกแล้ว แนะนำให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนรหัสผ่านทันที

บัญชีผู้ใช้งานนักศึกษา  
Microsoft Office 365 for Education Google Apps for Education
ชื่อผู้ใช้ (Username)   : รหัสนักศึกษา@live.mcru.ac.th
รหัสผ่าน (Password)  : รหัสนักศึกษา

ชื่อผู้ใช้ (Username)   : รหัสนักศึกษา@mcru.ac.th
รหัสผ่าน (Password)  : รหัสนักศึกษา
บัญชีผู้ใช้งานบุคลากร  
Microsoft Office 365 for Education   
ชื่อผู้ใช้ (Username)  : ชื่อภาษาอังกฤษและตามด้วยอักษรสามตัวแรกของนามสกุล@mcru.ac.th
รหัสผ่าน (Password) : รหัสที่กำหนด
 
ชื่อผู้ใช้ (Username)  : ชื่อภาษาอังกฤษและตามด้วยอักษรสามตัวแรกของนามสกุล@mail.mcru.ac.th
รหัสผ่าน (Password) : ชื่อภาษาอังกฤษและตามด้วยอักษรสามตัวแรกของนามสกุล


• หากมีปัญหากรุณาติดต่อกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โทร 0-3272-0536-9 ต่อ 1200 หรือ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 1 อาคารศูนย์ภาษาและศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือ Facebook : https://www.facebook.com/comcenterMCRU

การเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย

ผู้ใช้งานจะต้องมีชื่อบัญชีผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password) จึงจะสามารถใช้งานเครือข่ายของมหาวิทยาลัยได้ และห้ามผู้ใช้งานนำชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นทราบ เพื่อเป็นการป้องกันการโพสต์ข้อมูลเท็จรวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ทำให้เกิดความเสียหายได้

บัญชีผู้ใช้งานสำหรับนักศึกษา
ชื่อผู้ใช้ (Username)   : รหัสนักศึกษา
รหัสผ่าน (Password)  : รหัสนักศึกษา (เมื่อ log in เข้าใช้งานครั้งแรกจะต้องทำการเปลี่ยนรหัส)
บัญชีผู้ใช้งานสำหรับอาจารย์/บุคลากร
ชื่อผู้ใช้ (Username)  : ชื่อภาษาอังกฤษและตามด้วยอักษรสามตัวแรกของนามสกุล
รหัสผ่าน (Password) : รหัสที่ศูนย์คอมพิวเตอร์กำหนด (เมื่อ log in เข้าใช้งานครั้งแรกจะต้องทำการเปลี่ยนรหัส)

• หากมีปัญหากรุณาติดต่อกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โทร 0-3272-0536-9 ต่อ 1200 หรือ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 1 อาคารศูนย์ภาษาและศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือ Facebook : https://www.facebook.com/comcenterMCRU

ข้อกำหนดการตั้งรหัสผ่านสำหรับใช้งานอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย

ข้อกำหนดในการตั้งรหัสผ่าน จะต้องประกอบด้วย
1. ต้องมีอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่  A-Z
2. ต้องมีอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก  a-z
3. ต้องมีตัวเลขอารบิก 0-9
4. ต้องมีอักขระพิเศษ ! @ # $ % ^ & * ( )
5. รหัสผ่านที่กำหนดต้องมีอย่างน้อย 8 ตัวอักษร โดยมีการผสมกันระหว่างอักษรภาษาอังกฤษที่เป็นตัวพิมใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข และอักขระพิเศษ เข้าด้วยกัน
6. ห้ามนำชื่อผู้ใช้งาน (Username) มาตั้งเป็นรหัสผ่าน (Password)
ตัวอย่างเช่น Test@012 , #Sanook00 , paSSword^2 , @Love111 , $M12mm12

◼  การทดสอบทักษะด้านคอมพิวเตอร์

ข้อปฏิบัติการสอบทักษะด้านคอมพิวเตอร์

1. นักศึกษาทุกคนต้องแสดงบัตรนักศึกษาหรือบัตรประจำตัวประชาชนในการเข้าสอบ
2. นักศึกษาทุกคนต้องแต่งกายสุภาพ
3. ห้ามทุจริตการทำข้อสอบทุกกรณี (หากตรวจพบ ให้ยุติการสอบและออกจากห้องสอบ)
4. นักศึกษาอ่านคำสั่งในข้อสอบให้ละเอียด กรณีสงสัยให้สอบถามผู้คุมสอบเท่านั้น
5. ใช้รหัสนักศึกษาในการเข้าระบบเพื่อเข้าทำข้อสอบภาคทฤษฎี (ออนไลน์)
6. นักศึกษาปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด (หากรับโทรศัพท์ขณะสอบถือว่าทุจริตการสอบ)
7. ไม่อนุญาติให้นำอุปกรณ์บันทึกข้อมูลทุกชนิดเข้าห้องสอบ (หากตรวจพบ ให้ยุติการสอบและออกจากห้องสอบ)
8. ผลการสอบจะติดประกาศแจ้งหลังจากการสอบประมาณ 3 วันทำการหลังจากการสอบในแต่ละรอบ หรือวันพุธในสัปดาห์ถัดไป
9. ข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ 100 คะแนน นักศึกษาต้องสอบให้ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะถือว่าสอบผ่าน
10. เข้าห้องสอบตามเวลาที่กำหนด โดยเข้าสอบก่อนเวลาอย่างน้อย 5 นาที เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องคอมพิวเตอร์ หากเข้าสอบสายเกิน 30 นาที ไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบ การสอบใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที

รายละเอียดแนวการสอบทักษะด้านคอมพิวเตอร์

1. ข้อสอบมาตรฐานกลาง 
    1.1 ความหมายและความสำคัญของระบบปฏิบัติการ      
    1.2 คำสั่ง การสร้าง การสำเนา การลบ การบีบอัดและยกเลิกการบีบอัด เกี่ยวกับไฟล์ และโฟล์เดอร์      
    1.3 คำสั่งพื้นฐานโปรแกรมจัดการเอกสาร      
    1.4 คำสั่งพื้นฐานของโปรแกรมตารางการทำงาน      
    1.5 การค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ตามเงื่อนไขที่      
    1.6 สืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์      
    1.7 จัดการเอกสารหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน      
    1.8 สร้างเอกสารประเภทตารางได้      
    1.9 สร้างเอกสารจดหมายเวียนได้      
    1.10 ออกแบบงานด้วยโปรแกรมตารางการทำงานตามที่ระบุ      
    1.11 ออกแบบการนำเสนอตามที่ระบุได้
2. การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์  ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และโปรแกรมอรรถประโยชน์ (Computer Using Operating System and Utilities Software)
    2.1 การสร้างโฟลเดอร์จัดเก็บข้อมูล (New folder)    
    2.2 การแชร์โฟลเดอร์ (Shared)    
    2.3 การเปลี่ยนมุมมองของ Windows Explorer    
    2.4 การเปลี่ยนรูปภาพของ Icon folder    
    2.5 การสร้าง Shortcut    
    2.6 การค้นหาไฟล์ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์และการสำเนาข้อมูล (Search & Copy)    
    2.7 การกำหนดคุณสมบัติของไฟล์ (Properties)
    2.8 การเลือกโปรแกรมสำหรับเปิดไฟล์ การตั้งค่าให้ซ่อนหรือแสดงไฟล์ ฯลฯ    
    2.9 การตั้งค่ามุมมองของ Folder options    
    2.10 การจัดการ Task bar     
    2.11 การบีบอัดไฟล์ (Compress) และการแยกไฟล์ (Extract)
 3. การใช้งานโปรแกรมจัดพิมพ์เอกสาร Microsoft word    
    3.1 การบันทึกชื่อไฟล์ใหม่ (Save as)
    3.2 การกำหนดรหัสผ่าน (Password) ให้เอกสาร    
    3.3 การกำหนดหน่วยไม้บรรทัด กำหนดขอบเขตข้อความหน้ากระดาษ(Text boundaries)    
    3.4 การกำหนดหมายเลขหน้ากระดาษ (Page number) เช่น กำหนดเลขหน้าเป็นตัวอักษร การซ่อนหมายเลขหน้าแรก ให้เริ่มหมายเลขหน้าตามที่กำหนด ฯลฯ     
    3.5 การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page setup) เช่นกำหนดเอกสารแนวตั้ง - แนวนอน ในเอกสารเดียวกัน กำหนดระยะขอบของแต่ละหน้าไม่เท่ากัน การแบ่งคอลัมน์    
    3.6 การกำหนดท้ายกระดาษ (Footer)    
    3.7 การกำหนดและจัดรูปแบบ แบบอักษร (Font)     
    3.8 การจัดรูปแบบย่อหน้า (Paragraph) เช่น การกำหนดระยะแท็บในแต่ละย่อหน้า การกำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัด ระยะห่างระหว่างย่อหน้า     
    3.9 การกำหนดหมายหมายเลขหน้าข้อแบบอัตโนมัติ (Numbering)    
    3.10 การแทรกสัญลักษณ์ (Symbol) และการกำหนดหัวข้อย่อย (ฺBullet)    
    3.11 การแทรกรูปภาพ (Picture) ภาพคลิปอาร์ต (Clip art) และจัดรูปแบบ     
    3.12 การแทรกแผนภูมิ (Chart) และจัดรูปแบบ    
    3.13 การแทรกตาราง (Table) และจัดรูปแบบ
    3.14 การทำซ้ำหัวตาราง (Repeat header rows)    
    3.15 การแทรกสารบัญ (Table of content) และจัดรูปแบบ    
    3.16 การค้นหาและแทนที่ข้อความ (Find & Replace) การไฮไลต์ข้อความ    
    3.17 การกำหนดคำขึ้นต้นตัวใหญ่ (Drop cap)    
    3.18 การกำหนดลายน้ำ (Watermark)    
    3.19 การสร้างจดหมายเวียน (Mailings) และการนำไปใช้งาน    
    3.20 การบันทึกไฟล์เอกสาร Word เป็นไฟล์รูปแบบอื่นๆ เช่น PDF, Plain text, XPS, Web เป็นต้น
 4. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการประมวลตัวเลขด้วย Microsoft Excel    
    4.1 การจัดรูปแบบเซลล์ เช่น การผสานเซลล์ การใส่เส้นตาราง การใส่สี การกำหนดจำนวนทศนิยม เป็นต้น    
    4.2 การแทรกฟังก์ชั่นวันที่ปัจจุบัน และการจัดรูปแบบ    
    4.3 การใช้สูตรคำนวณอย่างง่าย โดยใช้เครื่องหมายทางการคำนวณ การหาค่าร้อยละ (บวก ลบ คูณ หาร)    
    4.4 การป้อนสูตรอย่างง่าย เช่น การหาผลรวมอัตโนมัติ การหาค่าสูงสุด-ต่ำสุด ค่าเฉลี่ย การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การนับจำนวนข้อมูลแบบมีเงื่อนไข เป็นต้น    
    4.5 การประมวลผลข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบ (IF)    
    4.6 การเรียงลำดับข้อมูล    
    4.7 การสร้างกราฟ และจัดรูปแบบ    
    4.8 การสร้างตัวกรองข้อมูล    
    4.9 การแทรกแถว หรือ คอลัมน์    
    4.10 การคัดลอกแผ่นงานและการตั้งชื่อแผนงาน    
    4.11 การอ้างอิงเซลล์ระหว่างแผ่นงาน
 5. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการนำเสนอผลงานด้วย Microsoft Powerpoint
    5.1 การกำหนด Templetes และการกำหนด Themes ของงานนำเสนอ    
    5.2 การแทรก Smart Art และการจัดรูปแบบ    
    5.3 การกำหนด Header & Footer เช่น การแทรกวันที่ การแทรกเลขหน้า เป็นต้น    
    5.4 การตั้งค่า Transitions    
    5.5 การกำหนดภาพเคลื่อนไหว Animations ให้กับวัตถุ    
    5.6 การแทรกรูปภาพและการจัดรูปแบบ    
    5.7 การแทรกรูปร่างอัตโนมัติ และการแทรกปุ่มปฏิบัติการ    
    5.8 การกำหนดพื้นหลังของสไลด์     
    5.9 การแทรก Hyperlink     
    5.10 การแทรกวิดีโอ

เกณฑ์การสอบประมวลผลความรู้ทักษะด้านคอมพิวเตอร์

• การประเมินผล หากสอบครั้งแรก "ไม่ผ่าน" ให้สมัครสอบใหม่ได้อีก 2 ครั้ง กรณี สอบครั้งที่ 3 ไม่ผ่าน ให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการอบรมและมีการประเมินผลจากการฝึกอบรมตามที่ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศกำหนด
• ผลการประเมิน นักศึกษาจะต้องผ่านการทดสอบให้ได้คะแนนรวมร้อยละ 60 ขึ้นไป ผลการประเมินเป็นค่าระดับคุณภาพได้แก่ "ผ่านดีเยี่ยม", "ผ่าน" และ "ไม่ผ่าน" โดยผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่า 60 จะถือว่าสอบ "ไม่ผ่าน"

PD   ผ่านดีเยี่ยม   มีค่าคะแนนระหว่าง   ร้อยละ 80-100  
P ผ่าน มีค่าคะแนนระหว่าง ร้อยละ 60-79
F ไม่ผ่าน มีค่าคะแนนระหว่าง ร้อยละ 0-59

 

การสมัครเข้ารับการทดสอบ

• สมัครได้ที่ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โทร 0-3272-0536-9 ต่อ 1200 หรือ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 1 อาคารศูนย์ภาษาและศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือ Facebook : https://www.facebook.com/comcenterMCRU หรือเว็บไซต์ ระบบสมัครทดสอบทักษะด้านคอมพิวเตอร์ โดยให้สมัครสอบได้ตั้งแต่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เป็นต้นไป